วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564


งานที่1

แนวทางการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด19
วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่
ส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
โปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะแนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ
หน้ากากอนามัย
หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดของมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

งานที่2

การทำภูเขาไฟ
อุปกรณ์
•1. เบกกิ้งโซดา (คนละอันกับผงฟูนะครับน้องๆ)
2. สีผสม อาหารสีแดง หรือ สีน้ำสีแดง
3. น้ำเปล่า
4. น้ำยาล้างจาน
5. น้ำส้มสายชู
6. กระดาษแข็ง
7. ดินน้ำมัน
 
วิธีการทดลอง
1. ตัดกระดาษเป็นทรงกรวย ตัดปลายแหลมออกให้เป็นปล่องภูเขาไฟ
 
2. นำดินน้ำมันมาติดกับกรวยกระดาษ ตกแต่งให้เป็นภูเขาไฟ โดยเหลือพื้นที่ที่บริเวณปล่องภูเขาไฟไว้เล็กน้อย
 
3. นำสีผสมอาหาร (สีแดง เพื่อแต่งให้เป็นลาวา) น้ำเปล่า เบกกิ้งโซดา และน้ำยาล้างจาน ผสมคนให้เข้ากันและหยอดลงปล่องภูเขาไฟ
 
4. เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ให้หยอดน้ำส้มสายชูลงไปบนปากปล่องภูเขาไฟ สักพักลาวาของน้องจะค่อยๆ ไหลออกมา
 
เมื่อหยอดน้ำส้มสายชู ทำไมถึงมีลาวาผุดออกมา?
 
นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อกรดในน้ำส้มสายชู ลงไปทำปฏิกริยากับผงฟู จะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนไหลทะลักออกมานั่นเองครับ นอกเหนือจากน้ำส้มสายชูแล้ว เราสามารถใช้น้ำมะนาวที่มีกรดเหมือนกัน เพื่อสร้างปฏิกริยานี้กับผงฟูได้เช่นเดียวกันครับ
งานที่3

การทำลำโพงด้วยแก้วและแกนทิชชู่
เจาะรูที่แก้วพลาสติด แล้วเอาแกนทิชชู่ใส่เข้าไป
เจาะรูที่แกนทิชชู่ด้วยนะ เราจะเอาโทรศัพท์เสียบเข้าไป



 ตารางสอนภาษาอังกฤษ





ตารางเรียน หมายถึง ตารางแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนสำหรับนักเรียน นักศึกษาในของปีการศึกษาภาคเรียนนั้นๆว่าเรียนวันใด เวลาใด เรียนวิชาใด


ห้องเเละสถานที่ต่างๆภายในบ้าน






 


 
ภาษาจีน

ฝึกทักษะการพูดภาษาจีน



ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 
ความสามัคคี
การช่วยเหลือกัน



คณิตศาสตร์
ฝึกการคิดเลข
ฝึกความเร็ว



ประวัติลูกเสือไทย

           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง
           จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”

            ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
           ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา
           ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
           ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)
- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)
- คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924)
- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927)
- จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)
- เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ

พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)
- เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)
- เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout 
ปฏิญาณ คือ คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือได้ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชาต่อหน้าแถว หรือในพิธีการทางลูกเสือเป็นหลักสากลที่ลูกเสือทุกคนต้องปฏิบติเช่นเดียวกันหมด ลูกเสือจะต้องจดทำคำปฏิญาณให้ได้ และต้องพยายามปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณอย่างเต็มความสามารถหรือให้ดีที่สุด



คำปฏิญาณของลูกเสือ
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ 1) ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2) ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3) ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ



กฎของลูกเสือ มี  10 ข้อ
ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรง         ต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความ
        เคารพ
ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

เราควรเคารพกฎของลูก🐯🐅

เครื่องแบบแต่ละกลุ่มมีทั้งชายและหญิง ทั้งทั่วไปและเครื่องแบบพิเศษ ประกอบด้วย
1. หมวก
2. เสื้อ
3. กางเกง, กระโปรง
4. ผ้าผูกคอ
5. เข็มขัด
 6. ถุงเท้า
7. รองเท้า

เพลงลูกเสือ

“ราชสดุดี”
ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปราณีก่อเกื้อลูกเสือมา
ทรงอุตส่าห์อบรมบ่นิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา
เป็นอาภาผ่องพทุธิวุฒิไกร
ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย
กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีให้ความรู้มากมาย
ให้ความอดทนความสนุกและอีกหลายๆอย่าง
ทำไห้รู้จักลูกเสือเนตรนารีต่างห้อง ทำให้มีความ
สามัคคีปรองดองกัน รู้จักช่วยเหลือกัน




กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีโรงเรียนดรุณาราชบุรี


งานที่1
 ประวัติความเป็นมาของมวยไทย

มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมานาน เป็นทั้งการต่อสู้ป้องกันตัวและกีฬา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด แต่ถือว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทยเช่นเดียวกับกังฟูของจีน ยูโดและคาราเต้ของญี่ปุ่น และเทควันโดของเกาหลี


การชกมวยไทยหน้าพลับพลาที่ประทับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พ.ศ. ๒๔๕๒
งานที่2

1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
2. ไม้ต้องติดยางเม็ด
3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ

1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า 
ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส

                เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน

                วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND)ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง


1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร

2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่

 4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน

5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

 6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ

6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน

6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 – 4 คน






































ใบงานวงล้อ Prepprosition of time










 


 
สมุดเล็กเรื่อง
Countable noun
Uncountable noun


 
การถ่ายโอนความร้อน

การถ่ายโอนความร้อน (heat transfer) คือ การที่พลังงานความร้อนถ่ายโอนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า พลังงานความร้อนจะหยุดถ่ายโอนเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิเท่ากัน

การพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจ



การพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ  เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างผู้ประกอบการธุรกรรมต่างๆ  ที่นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ กับผู้ให้ปัจจัยการผลิต คือ ครัวเรือน รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ที่ส่งผลต่อการสร้างรายได้ให้กับประเทศให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้เป็นการพึ่งพาสินค้า พึ่งพาการลงทุน พึ่งพาเทคโนโลยี พึ่งพาทรัพยากรต่างๆซึ่งกันและกัน

การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา


การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาคือการนำผลผลิตทางปัญญาของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของ หรือไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของ เช่น การก๊อปปี้หนัง เพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ครองสิทธ์


โครงการเเก้มลิง


โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

   1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป

          2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
    
          3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
    
          4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ การเก็บรวบรวม การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
 


 เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย



ลักษณะเศรษฐกิจสมัย สุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ ค้าขาย


การเกษตร


อาชีพหลักของ ชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ ชาวสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็น

พื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม




อุตสาหกรรม


ผลผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่อง


สังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย

การค้าขาย


การค้าขายในสุโขทัยที่ ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขาย

กับต่างประเทศ


การค้าภายในอาณาจักร เป็นการค้าแบบเสรี มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า " ปสาน "ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ที่เดินทางมา

แลกเปลี่ยนสินค้ากัน การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า " จกอบ " ดังศิลาจารึก กล่าวว่า " เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่

ลู่ทาง " ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี





กราฟ

เพื่อนสอนเพื่อน

เพื่อนสอนเพื่อนคือการช่วยเหลือกัน

 


 

การเขียนแนะนำสถานที่
คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ

หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้

    1.ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น
    2.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น
    3.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น
    4.ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น
    5.ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น

คำกริยา แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

    1. สกรรมกริยา
    2. อกรรมกริยา
    3. วิกตรรถกริยา
    4. กริยาอนุเคราะห์

คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม               

 คำสรรพนาม   คือ  คำแทนชื่อ  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม                                                                          

ชนิดของคำสรรพนาม 

คำสรรพนาม  แบ่งได้ตามลักษณะการใช้เป็น  ๖  ชนิด  คือ                                                     

๑.  บุรุษสรรพนาม  คือ  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย  และผู้ที่พูดถึงแบ่งเป็น                                

สรรพนามบุรุษที่  ๑  แทนชื่อผู้พูด  :  ฉัน  ดิฉัน  ผม  กระผม  ข้าพเจ้า  อาตมา 

สรรพนามบุรุษที่  ๒  แทนชื่อผู้พูดด้วย  :  เธอ  คุณ  ท่าน  ใต้เท้า  โยม  เป็นต้น                     

สรรพนามบุรุษที่  ๓  แทนชื่อผู้พูดถึง  :  เขา  มัน  ใคร  เธอ  ท่าน  พระองค์ท่าน 

๒.  ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาข้างหน้า  เพื่อไม่ต้อง                         กล่าวขึ้นอีก  ได้แก่  ผู้  ที่  ซึ่ง  อัน  ฯลฯ  เช่น                                                                                         

ขุนดาบผู้ได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือยอดเยี่ยมคือพระยาพิชัยดาบหัก                                      

พวกเราต้องให้อภัยกับคนที่ทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์                                                          ๓.  วิภาคสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  ที่บอกให้รู้ว่ามีคำนามอยู่

หลายส่วน  และแสดงกริยาร่วมกัน  หรือต่างกันก็ได้  เช่น  คำว่า  บ้าง  ต่าง  กัน  เช่น

กรรมการนักเรียนในห้อง ป. ๖ ต่างทำหน้าที่ของตนอย่างดี                                            

ทุกคนช่วยกันทำงาน                  

๔.    ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม  เช่น                                 

ใครทำการบ้านเสร็จแล้ว                                                                                             บ้านของคุณอยู่ที่ไหน                                                                                              อะไรอยู่บนกิ่งไม้ 

๕.    นิยมสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว 

เพื่อชี้เฉพาะหรือเพื่อบ่งความชัดเจน  เช่น  คำว่า  นี่  นั่น  โน่น  โน้น  ที่นี่  ที่นั่น  เป็นต้น  เช่น 

นี่เป็นหนังสือสารคดีที่ฉันชอบมากที่สุด                                                                               โน่นคือสนามที่น้อง ป. ๑ ใช้เล่น                                                                                                                

     ๖.  อนิยมสรรพนาม   คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามทั่ว ๆ ไป  ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นอะไร  เช่น 

ไม่มีใครดีเท่าเธอ                 

     เขาไม่มีอะไรจะกิน                                                                                                   นิธิจะอยู่ที่ไหนก็ได้


ผลงาวิชาภาษาจีน


การบอกเวลา


เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน[1] อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ [2][3] และกอตฟรีด ไลบ์นิซ[4]

วิดีโอการเรียนการสอน


 

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564



สีคู่ประกอบ


สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน

ภาพวงสีธรรมชาติ


     วงจรสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบ


วงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้น


สีขั้นที่1,2เเละ3


สีวรรณะร้อน สีวรรณะเย็น


วรรณะของสี คือสีที่ทำให้มีความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
สีวรรณะร้อน
สีวรรณะเย็น

รักษ์โลก



ภาพการประกวดเกี่ยวกับการรักษาโลก

ผลไม้การ์ตูน


วาดการ์ตูนผลไม้น่ารักๆ

สีส่วนรวม


สีส่วนรวม (Tonality)  ลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุมสีอื่นๆที่อยู่ในสภาพ การเลือกใช้สีที่อยู่ใกล้เคียงกันในวงจรสีจะมีความกลมกลืนกัน แต่บางครั้งอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่น่าสนใจได้

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของออย