วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564


 

การเขียนแนะนำสถานที่
คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ

หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้

    1.ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น
    2.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น
    3.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น
    4.ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น
    5.ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น

คำกริยา แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

    1. สกรรมกริยา
    2. อกรรมกริยา
    3. วิกตรรถกริยา
    4. กริยาอนุเคราะห์

คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม               

 คำสรรพนาม   คือ  คำแทนชื่อ  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม                                                                          

ชนิดของคำสรรพนาม 

คำสรรพนาม  แบ่งได้ตามลักษณะการใช้เป็น  ๖  ชนิด  คือ                                                     

๑.  บุรุษสรรพนาม  คือ  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย  และผู้ที่พูดถึงแบ่งเป็น                                

สรรพนามบุรุษที่  ๑  แทนชื่อผู้พูด  :  ฉัน  ดิฉัน  ผม  กระผม  ข้าพเจ้า  อาตมา 

สรรพนามบุรุษที่  ๒  แทนชื่อผู้พูดด้วย  :  เธอ  คุณ  ท่าน  ใต้เท้า  โยม  เป็นต้น                     

สรรพนามบุรุษที่  ๓  แทนชื่อผู้พูดถึง  :  เขา  มัน  ใคร  เธอ  ท่าน  พระองค์ท่าน 

๒.  ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาข้างหน้า  เพื่อไม่ต้อง                         กล่าวขึ้นอีก  ได้แก่  ผู้  ที่  ซึ่ง  อัน  ฯลฯ  เช่น                                                                                         

ขุนดาบผู้ได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือยอดเยี่ยมคือพระยาพิชัยดาบหัก                                      

พวกเราต้องให้อภัยกับคนที่ทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์                                                          ๓.  วิภาคสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  ที่บอกให้รู้ว่ามีคำนามอยู่

หลายส่วน  และแสดงกริยาร่วมกัน  หรือต่างกันก็ได้  เช่น  คำว่า  บ้าง  ต่าง  กัน  เช่น

กรรมการนักเรียนในห้อง ป. ๖ ต่างทำหน้าที่ของตนอย่างดี                                            

ทุกคนช่วยกันทำงาน                  

๔.    ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม  เช่น                                 

ใครทำการบ้านเสร็จแล้ว                                                                                             บ้านของคุณอยู่ที่ไหน                                                                                              อะไรอยู่บนกิ่งไม้ 

๕.    นิยมสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว 

เพื่อชี้เฉพาะหรือเพื่อบ่งความชัดเจน  เช่น  คำว่า  นี่  นั่น  โน่น  โน้น  ที่นี่  ที่นั่น  เป็นต้น  เช่น 

นี่เป็นหนังสือสารคดีที่ฉันชอบมากที่สุด                                                                               โน่นคือสนามที่น้อง ป. ๑ ใช้เล่น                                                                                                                

     ๖.  อนิยมสรรพนาม   คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามทั่ว ๆ ไป  ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นอะไร  เช่น 

ไม่มีใครดีเท่าเธอ                 

     เขาไม่มีอะไรจะกิน                                                                                                   นิธิจะอยู่ที่ไหนก็ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของออย