วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564


 เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย



ลักษณะเศรษฐกิจสมัย สุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ ค้าขาย


การเกษตร


อาชีพหลักของ ชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ ชาวสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็น

พื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม




อุตสาหกรรม


ผลผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่อง


สังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย

การค้าขาย


การค้าขายในสุโขทัยที่ ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขาย

กับต่างประเทศ


การค้าภายในอาณาจักร เป็นการค้าแบบเสรี มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า " ปสาน "ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ที่เดินทางมา

แลกเปลี่ยนสินค้ากัน การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า " จกอบ " ดังศิลาจารึก กล่าวว่า " เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่

ลู่ทาง " ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของออย